วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

สารเคมี 12 ชนิดในเครื่องสำอางที่ควรหลีกเลี่ยง

คุณรู้ไหมว่า จุดด่างดำ รอยเหี่ยวย่นต่างๆ บนใบหน้าหรือแขนขา จริงๆแล้วอยู่แค่ความลึกของชั้นผิวหนัง แต่ผลิตภัณฑ์ที่เราใช้เพื่อรักษาความสวยงามที่มนุษย์เรา โดยเฉพาะผู้หญิงต้องการนั้นมีสารเคมีที่สามารถแทรกซึมลงลึกได้มากกว่าชั้นผิวหนัง และถ้าหากเครื่องสำอางค์หรือครีมบำรุงผิวนั้น ซึมลึกอย่างที่โฆษณากันจริง  คุณเคยนึกมั๊ยว่า  อะไรล่ะที่มันซึมเข้าไป  และนอกจากผลเรื่องความสวยงามแล้ว สารที่ซึมลงไปในร่างกายเราจะมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง



โดยเฉลี่ยคนอเมริกันจะใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว/ทำความสะอาดผิวประมาณ 9 ชนิดต่อวัน ซึ่งในจำนวนนี้พบว่ามีสารเคมีประมาณ 120 ชนิด อันนี้ก็ไม่น่าแปลกใจเพราะตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ผู้หญิงเราก็ต้องล้างหน้า เช็ดหน้า ทามอยส์เจอร์ไรเซอร์ สำหรับหน้า สำหรับตา และ อีกอันสำหรับคอ  เมื่อเสร็จแล้วก็ต้องตามด้วยเครื่องสำอางค์ที่ 4-5 ชนิด  และอีกไม่น้อยที่ก็ต้องทาโลชั่นสำหรับผิวกาย  คุณเชื่อหรือไม่ว่ามีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องประทินผิวนี้ยังไม่ได้ผ่านการทดสอบทางด้านพิษวิทยาอย่างถี่ถ้วน


The Green Guide มีรายชื่อสาร 12 ชนิด ที่เราควรหลีกเลี่ยง ถึงแม้ว่าการใช้สารเหล่านี้เพียงครั้งเดียวคงจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่การใช้ทุกวันไปเรื่อยๆตลอดอายุของคุณจะเกิดการสะสมได้ ดังนั้นเมื่อเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ให้เราใช้เวลาในการอ่านฉลากให้นานขึ้น แม้แต่ผลิตที่โฆษณาว่า     ”มาจากธรรมชาติ  Natural” หรือ ”มาจากสมุนไพร Botanical” ก็อาจผสมสารที่ควรหลีกเลี่ยง 12 ชนิดนี้ได้


1.สารยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย  หรือ Antibacterial ตัวอย่าง เช่น Triclosan เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มักเติมลงในสบู่ ยาสีฟัน ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อจาก E. coli หรือ Salmonella enterica มีรายงานระบุว่าตรวจพบ Triclosan ในน้ำนมแม่  และมีงานวิจัยอีกชิ้นที่พบว่า  Triclosan ออกฤทธ์รบกวนการทำงานของฮอร์โมนเทสโตสเตอโรนในเซลล์ได้ จากการศึกษาหลายๆชิ้นบ่งชี้ว่าแค่อาบน้ำด้วยสบู่ธรรมดา และน้ำอุ่นก็ก็สามารถฆ่าเชื้อโรคได้แล้ว


2. Coal Tar เป็นสารก่อมะเร็งที่ใช้เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในแชมพูขจัดรังแค และครีมทาแก้คัน สีผสมอาหารบางชนิดที่มีโครงสร้างทางเคมีใกล้เคียงกับ Coal Tar เช่น FD & C Blue 1 ที่มักใช้ในยาสีฟันและ FD&C Green 3 ที่มักใช้ในน้ำยาบ้วนปาก ก็พบว่ามีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลองเมื่อฉีดสีเหล่านี้เข้าใต้ผิวหนัง


3.  Diethanolamine (DEA) สารชนิดนี้พบว่าอาจออกฤทธิ์รบกวนการทำงานของฮอร์โมน และอาจเป็นสารก่อมะเร็ง และมีผลทำให้ปริมาณ choline ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสมองของตัวอ่อนในครรภ์ลดลงด้วย เราอาจพบ DEA ได้ในผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่เป็นอนุพันธ์ DEA เช่น cocamide DEA ได้ เนื่องจากการปนเปื้อนมากับตัววัตถุดิบ

 4. 1,4-Dioxane เป็นที่ยอมรับกันว่าสารชนิดนี้เป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ และอาจเป็นสารก่อมะเร็งในคนด้วย Dioxane มักพบปนเปื้อนมากับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Sodium Laurth Sulfate หรือสารเคมีที่มีคำว่า “PEG,” “-xynol,” “ceteareth,” และสารเคมีที่มักลงท้ายว่า ethoxylated "eth" ถึงแม้ว่าองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ทำการเฝ้าระวังสารปนเปื้อน 1,4 Dioxane แต่ก็ยังไม่มีการกำหนดค่าสูงสุดที่มนุษย์สัมผัสได้ แม้ว่าผู้ผลิตเครื่องสำอางได้ใช้กระบวนการ “vacuum stripping” เพื่อขจัด dioxide ออกแต่ก็ไม่สามารถทำได้ทั้งหมด แต่ก็ช่วยลดปริมาณปนเปื้อนที่พบในผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็กเหลือเพียง 10 ส่วนในล้านส่วน  จากการสำรวจในปี 2007 โดยโครงการรณรงค์การใช้เครื่องสำอางปลอดภัย ในขณะที่การสำรวจในปี 2001 นั้นมีสารปนเปื้อน dioxane ถึง 85 ส่วนในล้านส่วน



5. Formaldehyde เป็นสารที่มีอันตรายต่อสุขภาพหลายข้อด้วยกัน รวมถึงพิษต่อระบบภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ระคายเคืองทางเดินหายใจ และทำให้เกิดมะเร็งในคน ซึ่งสาร Formaldehyde สามารถตรวจพบได้แม้ในสบู่อาบน้ำเด็ก ยาทาเล็บ กาวติดขนตา และยาย้อมผม โดย Formaldehyde ปนเปื้อนมากับสารเคมีตัวอื่นหรืออาจเกิดจากการสลายตัวของ diazolidinyl urea(สารกันบูด) หรือ imidazolidinyl urea (สารกันบูด) หรือสารประกอบ quarternium


6. Fragrance น้ำหอม คำว่าน้ำหอมอาจใช้แทนสารเคมีกลุ่ม phthalates ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้เป็นกลิ่นสังเคราะห์หรือน้ำหอมสังเคราะห์นั่นเอง โดยสารกลุ่มนี้จะรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อจึงอาจก่อให้เกิดความอ้วน และอาจมีผล        รบกวนระบบสืบพันธ์และการพัฒนาการได้ การหลีกเลี่ยงสารกลุ่ม phthalates ทำได้โดยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารแต่งกลิ่น/ น้ำหอมที่สกัดจากธรรมชาติ หรือ essential oil ที่มักนิยมใช้ในผลิตภัณฑ์สปาราคาสูง เนื่องจากน้ำมันหอมมระเหยสกัดจากธรรมชาติมีราคาแพงกว่าน้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์


7.Lead and Mercury สารตะกั่วและปรอท ตะกั่วมีฤทธิ์ทำลายระบบประสาทที่พบในธรรมชาติที่ปนเปื้อนมากับ hydrated silica โดย hydrated silica เป็นสารที่มักพบยาสีฟันส่วน lead acetate พบได้ในยาย้อมผมสำหรับผู้ชาย บางยี่ห้อ ส่วนปรอทซึ่งเป็นสารที่ทำลายสมอง อาจพบได้ในมาสคาร่าที่ใช้ thimerosol เป็นสารกันเสีย


8.Nanoparticles  เป็นสารอะไรก็ได้ที่มีอนุภาคขนาดเล็กมากๆ จึงเกิดการแทรกซึมเข้าผิวหนังและถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดและไปทำลายเซลล์สมองได้ พบการใช้ nonoparticles เพิ่มขึ้นในเครื่องสำอางและครีมกันแดด  ตัวที่มีปัญหามากที่สุดคือ zinc oxide หรือ titanium dioxide ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในการป้องกันรังสี uv ที่ใช้แล้วไม่ทำให้หน้าขาว  ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการดูดซึมของ zinc oxide หรือ titanium dioxide เข้าสู่ร่างกาย  ให้เลือกใช้ครีมกันแดดที่ใช้อนุภาคขนาด 100 nanometres ขึ้นไป โดยการโทรศัพท์ไปถามผู้ผลิตถึงขนาดของ zinc oxide และ titanium dioxide ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์  ปัจจุบันมีบางบริษัทได้โฆษณาระบุว่าปราศจากสาร nanoparticles บนฉลากด้วย


9. Parabens สารกลุ่มพาราเบน  เช่น (methyl-,ethyl-,propyl-,putyl-,isobutyl-)Parabens มีฤทธิ์ฮอร์โมนเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิงอย่างอ่อนๆ ) เป็นสารกันบูดที่ใช้อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว มีการศึกษาพบว่า putyl paraben มีฤทธิ์ทำลายการสร้างสเปริ์มในอัญฑะของหนู  ใน EU ได้ประกาศห้ามใช้  sodium  methylparaben  ในเครื่องสำอางแล้ว เมื่อ paraben เข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็น p-hydroxybenzoic acid  ที่มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจนในเซลล์เพาะเลี้ยงมะเร็งเต้านม

10. Petroleum Distillates  สารสกัดจากปิโตรเลียม อาจเป็นสารก่อมะเร็งในคนได้ โดย E.U. ได้ประกาศห้ามใช้หรือจำกัดการใช้ในเครื่องสำอางแต่ยังใช้แพร่หลายในเครื่องสำอางประเภทมาสคาร่า  แป้งดับกลิ่นเท้าและผลิตภัณฑ์อื่นๆ  ที่มาจากสหรัฐอเมริกาบางยี่ห้อ  ให้สังเกตชื่อส่วนผสมที่เขียนว่า liquid paraffin และ petroleum.

11. P-Phenylenediamine เป็นสารที่พบในยาย้อมผม  มีฤทธิ์ทำลายระบบประสาท  ทำให้ระคายเคืองปอดและก่อให้เกิดการแพ้ สารกลุ่มที่มีชื่อเรียกอื่นได้เช่น  1,4-Benzenediamine; p-Phenyldiamine and 4- Phenylenediamine.


12. Hydroquinone มักพบในครีมหน้าขาวหรือโลชั่นผิวขาว Hydroquinone มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทและก่อให้เกิดการแพ้ มีหลักฐานบางชิ้นระบุว่า ทำให้เกิดมะเร็งได้ในสัตว์ทดลอง และอาจพบเป็นสารเจือปนในส่วนประกอบบางอย่างที่ไม่เขียนบนฉลากได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น